วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่


ข้อมูลทั่วไป

อุทยาน แห่งชาติเขาใหญ่ เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของ

ประเทศ ไทยมีอาณาเขตครอบคลุม11 อำเภอ ของ 4

จังหวัด คือ อำเภอมวกเหล็ก อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี




อำเภอปากช่อง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

อำเภอนาดี อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอ

เมือง จังหวัดปราจีนบุรี และอำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ได้รับสมญานามว่าเป็นอุทยานมรดกของกลุ่มป ระเทศอาเซียน เป็นป่าผืนใหญ่ตั้งอยู่ในเทือกเขาพนมดงรัก ในส่วนหนึ่งของดงพญาไฟหรือดงพญาเย็นในอดีต ประกอบด้วยขุนเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อนหลายลูก เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่สำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำนครนายก และแม่น้ำมูล อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด เช่น ช้างป่า กวางป่า เก้ง กระทิง เสือ ตลอดจนมีลัก ษณะทางธรรมชาติที่สวยงาม มีเนื้อที่ 1,353,471.53 ไร่ หรือ 2,165.55 ตารางกิโลเมตร

เมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว ราษฎรบ้านท่าด่านและบ้านท่าชัย

จังหวัดนครนายก ได้บุกรุกถางป่าปลูกพริกปลูกข้าวบนเขาใหญ่

และจับจองพื้น

ที่สร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่บนเขาใหญ่ ประมาณ

30 หลังคาเ

รือน ต่อมาได้พัฒนายกฐานะเป็นตำบลเขาใหญ่ ขึ้นอยู่

กับอำเภอปากพลี ทำให้เกิดการบุกรุกทำลายป่าทำไร่เลื่อนลอย
เพิ่มขึ้นเรื่อย ต่อ
มากลายเป็นที่หลบซ่อนพักพิงของโจรผู้ร้าย และผู้ต้องหาที่หลบหนีคดีอาญาอยู่เนืองๆ เพราะการคมนาคมยากลำ บาก ห่างไกลแหล่งชุมชนอื่นๆ ยากแก่การตรวจปราบปราม ด้วยเหตุนี้ทางราชการในสมัยนั้นจึงยุบตำบลเขาใหญ่ และให้ราษฎรที่อาศัยอยู่บนเขาใหญ่อพยพลงสู่ที่ราบ หมู่บ้านและไร่ที่ทำกินบริเวณป่าเขาใหญ่ จึงถูกทิ้งร้างกลายสภาพเป็นทุ่งหญ้าคาสลับกับป่าที่อุดมสมบูรณ์

ในปี พ.ศ. 2502 ฯพ

ณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปตรวจราชการทางภาคเหนือ เล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะคุ้มครองรักษาธรรมชาติโดยเฉพาะป่าไม้ จึงได้ให้กระทรวงเกษตร และกระทรวงมหาดไทย ร่วมมือและประสานงานกันเพื่อ

จัดตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้นในประเทศไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติการประชุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้กำหนดป่าเขาใหญ่ จังหวัดนครนายก จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระบุรี และป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ รวม 14 ป่า เป็นอุทยานแห่งชาติ จากนั้นกรมป่าไม้ได้เริ่มเตรียมการและวางแผนการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้น โดยได้รับความร่วมมื

อและช่วยเหลือจาก DR. GEORGE C. RUHLE ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอุทยานแห่งชาติ ของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ ( IUCN ) จากประเทศสหรัฐอเมริกา

ลักษณะภูมิประ เทศ




สภาพ ทั่วๆ ไปของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นพื้นที่ด้านตะวันตกของเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งสูงโดดเด่น

ขึ้นมาจากที่ราบภาคกลางแล้วก่อตัวเป็นแนวเขตของที่ราบสูง โคราช มีเขาร่มเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด

1,351 เมตร เขาแหลมสูง 1,326 เมตร เขาเขียวสูง 1,292 เมตร เขาสามยอดสูง 1,142 เมตร เขาฟ้าผ่าสูง 1,078 เมตร เขากำแพ

งสูง 875

เมตร เขาสมอปูนสูง 805 เมตร และเขาแก้วสูง 802 เมตร ซึ่งวัดความสูงจากระดับน้ำทะเลเป็นเกณฑ์ และยังประกอบด้วยทุ่งกว้างสลับกับป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ด้านทิศเหนือและตะวันออกพื้นที่จะลาดลง ทางทิศใต้และตะวันตกเป็นที่สูงชันไปเรื่อยๆ

นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารที่สำคัญถึง 5 สาย ได้แก่ แม่
น้ำปราจีนบุรีและแม่น้ำนครนายก อยู่ในพื้นที่ทางทิศใต้ของ

อุทยานแห่งชาติ

เขาใหญ่ ซึ่งมีความสำคัญต่อการเกษตรกรรมและระบบทางเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคนี้ แม่น้ำทั้ง 2 สายนี้ มาบร

รจบกันที่จังหวัดฉะเชิงเทรา กลายเป็นแม่น้ำบางปะกงแล้วไหลลงสู่อ่าวไทย แม่น้ำลำตะคองและแม่น้ำพระเพลิง อยู่ในพื้นที่ทางทิศเหนือ ไหลไปหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมของที่ราบสูงโคราช ไปบรรจบกับแม่น้ำมูลซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของภาคอีสานตอนล่างไหลลงสู่แม่น้ำ โขง ห้วยมวกเหล็ก อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีปริมาณน้ำไหลตลอดทั้งปีและให้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร โดยเฉพาะการปศุสัตว์ของภูมิภาคนี้ ไหลลงสู่แม่น้ำป่าสัก ที่อำเภอมวกเหล็ก

ลักษณะภูมิอากาศ

ด้วย สภาพป่าที่รกทึบและได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ทำให้เกิดฝนตกชุกตามฤดูกาล อากาศไม่ร้อนจัดและหนาวจัดจนเกินไป จัดอยู่ในประเภทเย็นสบายตลอดทั้งปี เหมาะแก่การเดินทางท่องเที่ยวและประกอบกิจกรรมนันทนาการชนิดต่างๆ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 23 องศา

เซลเซียส ฤดูร้อน แม้ว่าอากาศจะร้อนอบอ้าวกว่าในที่อื่น แต่ที่เขาสูงบนเขาใหญ่อากาศเย็นสบายเหมาะแก่การพักผ่อน เล่นน้ำในลำธารและนำอาหารไปรับประทาน ไม้ป่ามีดอกหลากสีบานสะพรั่งบ้างออกผลตามฤดูกาล
ฤดูฝน เป็นช่วงหนึ่งของปีที่สภาพบนเขาใหญ่ชุ่มฉ่ำ ป่าไม้ทุ่งหญ้าเขีย
วขจีสดสวย น้ำตกทุกแห่งไหลแรงส่งเสียงดังก้องป่าให้ชีวิตชีวาแก่ผู้ไปเยือน แม้การเดินทางจะลำบากกว่าปกติแต่จำนวนนักท่องเที่ยวก็ไม่ลดน้อยลงเลย
ฤดูหนาว ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ เป็นฤดูที่นิยมไปเขาใหญ่มากที่สุด ท้องฟ้าสีครามแจ่มใสตัดกับสีเขียวขจีของป่าไม้ พยับหมอกที่ลอยเอื่อยไปตามทิวเขา ดวงอาทิตย์กลมโตอยู่เบื้องหน้าไกลโพ้น อากาศหนาวเย็นในเวลากลางคืน แต่รุ่งเช้าของวันใหม่จะพบกับธรรมชาติที่สวยงามแตกต่างไปจากเมื่อวานอีกแบบหนึ่ง





ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

น้ำตกตาดมะนาว
เป็นน้ำตกขนาดเล็กๆ ที่สวยงามอีกรูปแบบหนึ่ง อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ เดินไปตามเส้นทางเดินเท้าออกจากด้านหลังโภชนาการ ททท. เขาใหญ่ (เดิม) ประมาณ 5-6 กิโลเมตร จะผ่านป่าดงดิบชื้นที่มีพันธุ์ไม้เล็กใหญ่และไม้สมุนไพรที่น่าสนใจศึกษา

น้ำตกตาดตาภู่
น้ำตกนี้อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เกิดจากห้วยระย้าเป็นน้ำตกที่มีลักษณะเป็นโขดหินและลาดหินที่มีน้ำไหลหลั่น เป็นทอดลาดเอียงไปข้างล่างประมาณ 100 เมตร เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบพักค้างแรมในป่า ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ใกล้ๆ น้ำตกจะมีทุ่งหญ้าสลับกับป่าซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของ สัตว์ป่านานาชนิด ที่เห็นประจำ ได้แก่ เก้ง กวาง ช้างป่า กระทิง นกนานาชนิด เป็นต้น

น้ำตกตาดตาคง
เป็นน้ำตกที่งดงามและสูงอีกแห่งหนึ่ง ที่อยู่ถัดไปจากน้ำตกตาดตาภู่ประมาณ 4 กิโลเมตรเศษ การเดินทางจะเริ่มต้นที่ด้านหลังของโภชนาการ ททท. เขาใหญ่ (เดิม) ก็ได้ ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร หรือจะเริ่มที่ กม. 5.5 ถนนเขาใหญ่-ปราจีนบุรีก็ได้ ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร

กลุ่มน้ำตกผาตะแบก
น้ำตกกลุ่มนี้เป็นน้ำตกขนาดไม่เล็กมากนัก เกิดบนห้วยน้ำซับลักษณะของน้ำตกเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกันลงไป 5 ชั้น จากปากทางเข้าบนถนนสายเขาใหญ่-ปราจีนบุรี ช่วงระหว่าง กม. 6.5-7 จะมีทางเดินเท้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จัดทำเอาไว้ เดินเข้าไปเพียง 500 เมตร ก็จะถึงน้ำตกแห่งแรก คือ น้ำตกผากระจายและเดินต่อไปอีกจะถึงน้ำตกผาหินขวาง น้ำตกผารากไทร น้ำตกผาชมพู และน้ำตกผาตะแบก รวมระยะทางในการเดินเท้าทั้งสิ้นประมาณ 3 กิโลเมตรเศษ

จุดชมทิวทัศน์ กม.30
กิโลเมตรที่ 30 ถนนธนะรัชต์ สามารถชมทิวทัศน์ด้านทิศเหนือของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้เป็นบริเวณกว้างและสวยงาม

จุดชมทิวทัศน์เขาเขียว (ผาเดียวดาย)
จุดชมทิวทัศน์เขาเขียว (ผาเดียวดาย) นับเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามน่าชม มีลักษณะคล้ายผานกเค้าที่ภูกระดึง จะมองเห็นภูเขาร่มขวางอยู่เป็นแนวยาวและทิวทัศน์ที่สวยงามด้านจังหวัด ปราจีนบุรี ตอนเช้าตรู่จะเห็นพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าเป็นดวงกลมสีแดงเหนือสันเขาร่มที่ สวยงาม

เส้นทางถึงยอดเขาเขียวมีระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร
บริเวณ ช่วงกิโลเมตรที่ 9 มีเส้นทางลงสู่จุดชมทิวทัศน์ผาเดียวดาย ผ่านป่าดิบเขาที่ชุ่มชื้นและอากาศเย็นตลอดปี ตามต้นไม้และโขดหินมีมอสและตะไคร่ขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป บริเวณนี้จะพบนกบนที่สูงหลายชนิด เช่น นกปรอดดำ นกเปล้าหางพลั่ว นกแซงแซวหางบ่วงเล็ก เป็นต้น

หอดูสัตว์เป็นสถานที่จัดทำขึ้นสำหรับการซุ่มดูสัตว์ป่า ผู้ที่สนใจสามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่เวลา 06.00 น. - 18.00 น. ได้แก่ หอดูสัตว์หนองผักชี อยู่บริเวณหนองผักชี ซึ่งเป็นแหล่งน้ำของสัตว์ป่ารอบๆ หนองน้ำ เป็นทุ่งหญ้าคากว้างใหญ่ มีโป่งสัตว์ ปากทางเข้าอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 35 - 36 ถนนธนะรัชต์ เดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตรหอดูสัตว์มอสิงโต อยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำมอสิงโต รอบๆ มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าโล่งที่เหมาะสำหรับซุ่มดูสัตว์ป่าที่มากินดินโป่ง ซึ่งเป็นดินที่มีแร่ธาตุสำคัญของสัตว์กินพืช อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่ ประมาณ 500 เมตร

นอกจากนี้ในบริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.4 (คลองปลากั้ง) ยังได้จัดให้มีหอดูสัตว์ชมกระทิง โดยอยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ประมาณ 2 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในทุ่งหญ้าติดชายป่า เชิงสันเขากำแพง มีทิวทัศน์สวยงามมาก ในเวลาเย็นจะมีฝูงกระทิงออกหากินบริเวณใกล้ๆ สามารถชมจากหอดูสัตว์นี้ได้ชัดเจน